ลอยกระทง

050205m_cงานแถลงข่าว ลอยกระทงสร้างสุข สุขใจ ไร้แอลกอฮอล์

ณ ลานกิจกรรม ชั้น 35 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) อาคารเอส เอ็ม ทาวเวอร์ วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน 2551 เวลา 10.30-12.00

ผู้ร่วมแถลงข่าว

1.ทพ.กฤษฎา เรืองอารีย์รัชต์ รองผู้จัดการ สำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ

2.นายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า

3.นายสิธิชัย จินดาหลวง เลขานุการกรมส่งเสริมการ ปกครองส่วนท้องถิ่น

4.นพ.บุญเติม ตันสุรัตน์ ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย

5.นายสุดชาย กรรณกุลสุนทร ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่

6.นางอรศรี ศิลปี ประธานประชาคมบางลำภู050205m_c

ทพ.กฤษฎา เรื่องอารีย์รัชต์ รองผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวว่า

“ทุกปีสสส.ได้ร่วมกับเอแบคโพลล์สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับงานลอยกระทง เพื่อจะทำให้เห็นปัญหาและนำเสนอข้อเสนอแนะ เพื่อการจัดงานลอยกระทง มีความสุขและสนุกสนานมากขึ้น ปีนี้มีการสำรวจ 12จังหวัด ทัวประเทศ 2411 ตัวอย่าง พบข้อมูลที่น่าสนใจหลายประเด็น

ประเด็นแรก ประชาชนจะเข้าร่วมงานลอยกระทงหรือไม่ เป็นที่น่าสังเกตุ

ในปีนี้ว่าคนที่ตั้งใจจะไปร่วมงานลดลงเหลือ 50% จากเมื่อปีที่แล้วมีคนเข้าร่วม 67% ซึ่งเกิดจากสถานการณ์หลายๆอย่าง ที่ทำให้คนตื่นตัวกับงานลอยกระทง

น้อยกว่าปีที่แล้ว

ส่วนที่ 2 คือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ปีที่แล้วอันดับ 1 คือคนดื่มเหล้า 66% อันดับ 2 คือการสูบหรี่ อันดับ 3ทิ้งขยะ และอันดับ 4การเล่นประทัด และ การแต่งกายที่ไม่สุภาพ

ส่วนในปีนี้สิ่งที่คนกังวลที่สุดคือเรื่องคนเมาถึง 70% อันดับ2เรื่อง การทะเลาะ วิวาท 62% ซึ่งทั้งสองส่วนนี้จะสัมพันธ์กันคือเมื่อเมาแล้วก็จะมาตีกัน ส่วนอันดับ 3 คือการเล่นประทัดดอกไม้ไฟ ก็อยากจะฝากเตือน หากเราช่วย ดูแลกันได้ก็จะทำให้ประชาชนอาจจะอยากเข้าร่วมงานมากขึ้น

ส่วนที่ 3 กิจกรรมหลังจากลอยกระทงแล้ว 59% จะไปนั่งรถชมเมือง อันดับ 2 ไปร้องเพลงต่อ28% อันดับ 3 อยู่กับคนรัก น่าห่วงในอันดับที่ 4 คือไปดื่มเหล้า ต่อ 11% อันดับ 5จะไปมีเพศสัมพันธ์ 5% (แต่ผู้ใหญ่กังวลมากถึง 44%) อันดับ6 จะไปซิ่งรถ3% ซึ่งผู้รับผิดชอบด้านความปลอดภัยอาจต้องให้ความสนใจ และ เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น

December 3, 2008 at 3:59 am Leave a comment

อบรมทำblog

ดีใจจัง ได้ทำblogแล้ว ทีนี้ละจะมีพื้นที่ส่วนตัวกับเขาบ้าง เห็นเขาพูดกันมานาน วัฒนาวิทยาลัย ชิมลางแผนที่สุขภาพ เปิดประสบการณ์สำรวจพื้นที่นอกร

ต้นฉบับสำหรับสื่อสาร

เปิดประสบการณ์นอกรั้ววัฒนาวิทยาลัย ทำแผนที่สุขภาพกลางกรุง”

ภาพประกอบ

วัฒนาวิทยาลัย ชิมลางแผนที่สุขภาพ เปิดประสบการณ์สำรวจพื้นที่นอกรั้วครั้งแรก พร้อมนำแผนที่สุขภาพฯบูรณาการกิจกรรมชมรม รู้เท่าทันสื่อและสิ่งแวดล้อมศึกษา เล็งจัดระเบียบแม่ค้าสหกรณ์ทิ้งน้ำเสียลงคลอง

กิจกรรมเดินเท้าสำรวจชุมชนในโครงการแผนที่สุขภาพเพื่อพื้นที่ดี พื้นที่เสี่ยง รอบโรงเรียน เพื่อสร้างสุขภาวะในพื้นที่ใกล้โรงเรียน เป็นอีกทางเลือกสร้างสุขภาพที่ดี โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)จับมือกับสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทย(บพ.) สนับสนุนทุนในกิจกรรมสำรวจพื้นที่รอบโรงเรียนในระยะ 1-5 ตารางกิโลเมตร เปิดโอกาสให้กับกลุ่มโรงเรียนที่สนใจทำความดีในชุมชนทั่วประเทศ ซึ่งแม้ว่าโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย เป็นโรงเรียนประจำ แต่ครูและนักเรียนก็ได้เข้าร่วมโครงการ และผลักดันกิจกรรมแผนที่สุขภาพให้เป็นส่วนหนึ่งของการทำความดีถวาย “ในหลวง” อันเป็นวัตถุประสงค์สำคัญของโครงการด้วย

ที่ตั้งของโรงเรียนวัฒนาอยู่ย่านเศรษฐกิจ จึงเห็นความแตกต่างชัดเจนระหว่างพื้นที่ดี พื้นที่เสี่ยง ตามเส้นทางสำรวจจากโรงเรียน ส่วนใหญ่จะแวดล้อมไปด้วยย่านการค้าสำคัญ อาทิ โรงแรม ห้างสรรพสินค้า สถานีรถไฟฟ้า และผับ บาร์ ร้านค้าที่มีการจำหน่ายสุรา ร้านค้าและสถานบริการต่างๆ โดยเฉพาะแหล่งที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวในเขตเศรษฐกิจ

พื้นที่เหล่านี้ เด็กๆ ที่เดินสำรวจได้ใช้สัญลักษณ์ในแผนที่ โดยใช้สีแดง แทนพื้นที่เสี่ยง และ สีเขียว เป็นสัญลักษณ์แทนพื้นที่ดี อย่างเช่น สยามสมาคม เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมของประเทศไทย สวนเบญจกิตติ สวนเบญจสิริ และสวนชูวิทย์ เป็นสวนสาธารณะสถานที่พักผ่อน ออกกำลังกาย และจัดงานด้านศิลปวัฒนธรรม เช่น ดนตรีในสวน

ฐิติวรดา ศิริทองถาวร หรือ “สไมล์” นักเรียนแกนนำ ชั้น ม.4 เล่าถึงความรู้สึกในการทำกิจกรรมนี้ว่า “ตอนเดินสำรวจซักถามชาวบ้าน เพื่อเก็บข้อมูลพบปัญหาที่น่าตกใจมากที่สุด คือ มีกองโตลอยอืดเต็มคลองแสนแสบ ใกล้ท่าเรือนานาชาติ โดยป้าที่อยู่แถวนั้น บอกว่าเมื่อก่อนแย่ยิ่งกว่านี้ มีเด็กตกลงไปด้วย จึงต้องแจ้งให้สำนักงานเขตมาทำราวกั้นคลอง”

ญาณิน สุทธิเดชานัย หรือ “ณินนักเรียนแกนนำฝ่ายจัดทำแผนที่ของทีม เล่าความประทับใจว่า แม้ขั้นตอนการจัดทำแผนที่สุขภาพค่อนข้างยากแต่ก็สนุกที่สุดทุกคนช่วยกันต่อแผนที่ จากแผ่นเล็กๆเป็นแผ่นใหญ่ นอกจากนี้ยังมีคุณครูสอนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนขั้นตอนจัดทำลงเวปไซด์ของโรงเรียนด้วย

ปัจจุบัน โรงเรียนวัฒนาได้นำแผนที่สุขภาพบูรณาการกับวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยมี กาญจนา แสงปลั่ง ครูที่ปรึกษาโครงการเป็นผู้สอน และสนับสนุนกิจกรรมแก่นักเรียนแกนนำได้สำรวจชุมชนและจัดทำแผนที่สุขภาพ แม้ว่าโรงเรียนวัฒนามีข้อจำกัดในเรื่องเวลา และระเบียบของโรงเรียนที่เข้มงวดมาก และกิจกรรมที่โรงเรียนจัดให้นักเรียนอนุญาตให้ดำเนินการในโรงเรียนเท่านั้นนับเป็นข้อจำกัดในการทำงาน แต่การดำเนินโครงการระยะที่ 1 ก็สามารถจัดกระบวนการอบรมให้กับนักเรียนสมาชิกที่สนใจในโรงเรียนวัฒนาได้

กาญจนา ครูที่ปรึกษา โครงการ กล่าวถึงประโยชน์ของโครงการแผนที่สุขภาพว่า “การนำโครงการมาร่วมในการเรียนการสอนวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษานั้น เอื้อต่อทักษะกระบวนการคิด การสังเกต วิเคราะห์เชื่อมโยงกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม ได้รับประสบการณ์ตรงในเรียนรู้จากสถานที่จริง โดยเฉพาะเวลากลางคืนบริเวณถนนสุขุมวิท เป็นแหล่งอันตรายสำหรับนักเรียนเป็นอย่างยิ่ง เป็นโอกาสดีที่นักเรียนวัฒนาจะได้รับประสบการณ์ในการสำรวจชุมชนรอบโรงเรียนได้สัมภาษณ์ผู้คน แม้ว่าส่วนใหญ่เด็กจะอยู่แต่ในโรงเรียน แต่ก็สามารถตระหนักต่อพื้นที่เสี่ยงได้เช่นกัน”

อย่างไรก็ตามแม้ว่า โรงเรียนวัฒนาฯไม่ได้เสนอโครงการต่อระยะที่ 2 เพราะจำนวนนักเรียนในชมรมมีน้อย และไม่ใช่วิชาบังคับ บางคนจบการศึกษาไปบ้าง แต่ยังมีความต่อเนื่องจากนักเรียนกลุ่มใหม่ได้สานต่อแผนงานดูแลคูคลองน้ำเสียในคลองวัฒนา และรณรงค์การจัดการน้ำเสียแก่แม่ค้าร้านสหกรณ์โรงเรียนต่อไป

กมลวรรณ คุรานุสนธิ์ “ไม้เอก” นักเรียนชั้น ม.4 แกนนำโครงการ บอกว่า โครงการนี้ให้โอกาสนักเรียนประจำอย่างโรงเรียนวัฒนาได้มีโอกาสได้ทำโครงการร่วมกับชุมชน แม้จะยังไม่สามารถลดพื้นที่เสี่ยงได้แต่ก็ได้พบเห็นปัญหาของชุมชน แล้วนำมาปรับใช้ในโรงเรียนได้ ซึ่งตอนนี้ก็นำข้อมูลจากโครงการมาจัดกิจกรรมต่อในชมรมรู้เท่าทันสื่อ เรียนรู้ได้หลากหลายมากขึ้น

เห็นไหมว่า กิจกรรมทำความดีง่ายๆทำได้ทุกโรงเรียน วัฒนาวิทยาลัยเป็นโรงเรียนประจำขอยืนยันเสียงดังว่า “พวกเราทำได้”

รายงานตัวอย่างกรณีศึกษา Good Practice

เปิดประสบการณ์นอกรั้ว วัฒนาวิทยาลัยกับแผนที่สุขภาพกลางกรุง

ผู้ดำเนินโครงการ : โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย

สถานที่ตั้ง : เขตวัฒนา กรุงเทพฯ

บทเรียนโครงการแผนที่สุขภาพฯ : โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย

โครงการแผนที่สุขภาพ เพิ่มพื้นที่ดี ลดพื้นที่เสี่ยง” ดำเนินการโดยโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนสตรีอยู่ประจำ ของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เปิดสอนระดับปฐมวัยถึงระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รับนักเรียนไป-กลับ ในระดับประถมศึกษา และนักเรียนประจำในระดับมัธยม โรงเรียนวัฒนาฯเปิดสอนกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์เพียงอย่างเดียว มีผู้บำเพ็ญประโยชน์ทุกรุ่น มีกลุ่มนักเรียนบพ.ม.3 จำนวน 24 คน เป็นผู้ดำเนินโครงการโดยมี กาญจนา แสงปลั่ง เป็นครูบพ.และเป็นครูผู้ฝึกของสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ฯ เป็นครูที่ปรึกษาโครงการ

สภาพพื้นที่รอบโรงเรียน “วัฒนาวิทยาลัย” ตั้งอยู่ย่านธุรกิจ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ บริเวณโดยรอบเป็นชุมชนเมือง ประกอบด้วยสถานศึกษา โรงพยาบาล โรงแรม ธนาคาร และสำนักงานเขต เช่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (วิทยาเขตประสานมิตร) โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร โรงเรียนเซนต์ดอมินิก โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน โรงแรม Westin และแลนด์มาร์ค ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ และสำนักงานเขตวัฒนา เป็นต้น พบพื้นที่เสี่ยง ได้แก่ ผับ บาร์ บริเวณสุขุมวิท ซอย 3 และ ซอยคาวบอย เป็นแหล่งอบายมุขทั้งเหล้าบุหรี่ และยาเสพติดบางประเภท หญิงไทยที่มีอาชีพบริการ และอาจมีความเสี่ยงของการเป็นโรคติดต่อร้ายแรง ปัญหาด้านนี้เด็ก ๆเห็นว่าเป็นปัญหาใหญ่ เพราะเป็นการเชื่อมโยงแหล่งธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่เยาวชน ซึ่งเข้าไปแก้ปัญหาส่วนนี้ไม่ได้ อาจทำได้เพียงรณรงค์แก่เยาวชนในโรงเรียนให้ตระหนักและหลีกเลี่ยงพื้นที่ดังกล่าว รวมถึงให้ข้อมูลเรื่องเอดส์แก่หญิงบริการ ด้านถนนเลียบคลองแสนแสบ เป็นแหล่งที่มีกองขยะ และการกำจัดขยะโดยการเผา ซึ่งไม่ถูกสุขลักษณะ และเส้นทางเดินไม่มีแสงสว่างเพียงพออาจมีอันตราย

ลักษณะโครงการแผนที่สุขภาพฯ จุดเด่นของโครงการ การบูรณาการจากกิจกรรมในโครงการแผนที่สุขภาพฯโดยได้เปิดโอกาสให้นักเรียนแกนนำของโรงเรียนวัฒนาซึ่งเป็นโรงเรียนประจำสตรีได้สำรวจพื้นที่ดี พื้นที่เสี่ยงในชุมชนใกล้โรงเรียนและต่อยอดเป็นบทเรียนการเรียนรู้ขยายผลสู่นักเรียน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา และชมรมรู้เท่าทันสื่อ ทั้งนี้เป็นการขยายผลจากบทเรียนจากโครงการแผนที่สุขภาพฯ ทั้งระยะที่ 1

ผลลัพธ์การดำเนินโครงการ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยเป็นโรงเรียนประจำสตรี การเรียนรู้และทำงานในการสำรวจพื้นที่ พบว่า เรื่องเวลา ระเบียบของโรงเรียน และกิจกรรมที่โรงเรียนจัดให้นักเรียนอนุญาติให้ดำเนินการในโรงเรียนเท่านั้นนับเป็นข้อจำกัดในการทำงาน จึงได้บูรณาการกับวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยมีครูที่ปรึกษาโครงการเป็นผู้สอน จึงได้สนับสนุนกิจกรรมแก่นักเรียนแกนนำได้สำรวจชุมชนและจัดทำแผนที่สุขภาพ แม้โรงเรียนจะมีข้อจำกัดในการดำเนินโครงการแต่ผลจากโครงการระยะที่ 1 แต่ไม่ได้หยุดดำเนินโครงการระยะที่ 1 สามารถจัดกระบวนการให้นักเรียนแกนนำฝึกทักษะที่ได้จากการอบรมสัมมนานำมาจัดทำในแบบฉบับของโรงเรียนวัฒนาได้ จึงมีการสำรวจและจัดทำแผนที่สุขภาพตามแผนงานโครงการระยะที่ 1

การบริหารจัดการโครงการแผนที่สุขภาพฯระยะที่ 1

การจัดหาบุคลากร ครูที่ปรึกษาโครงการได้แจ้งประชาสัมพันธ์โครงการแผนที่สุขภาพเฉพาะนักเรียนในกลุ่มที่เรียนวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษาเท่านั้น ซึ่งเป็นวิชาเลือกเพิ่มเติมในหมวดสังคมศึกษาเปิดสอนตามจำนวนนักเรียนที่สนใจศึกษา ซึ่งหลังจากอบรมสัมมนาครูและแกนนำนักเรียน ทีมงานของโรงเรียนวัฒนาได้นำโครงการแผนที่สุขภาพไปบูรณาการกับวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษาขยายผลสู่สมาชิกในโครงการ 21 คน แบ่งงานกันสำรวจเป็นฝ่ายเขียนแผนที่ ฝ่ายสำรวจพื้นที่ดี ฝ่ายสำรวจพื้นที่เสี่ยง ฝ่ายถ่ายภาพ ฝ่ายรวบรวมข้อมูล และครูที่ปรึกษาเป็นแกนนำพานักเรียนสำรวจในพื้นที่ชุมชน ร่วมกับศิษย์เก่าของโรงเรียนซึ่งมีบ้านอยู่ใกล้พื้นที่สำรวจ

การวางแผนสำรวจพื้นที่ นักเรียนแกนนำได้สำรวจพื้นที่ รอบโรงเรียน โดยแบ่งบุคคลสำรวจเป็นฝ่าย เดินสำรวจพร้อมกัน 25 คน ร่วมกันสำรวจพื้นที่ 4 ครั้ง

ครั้งที่ 1 ใช้เส้นทางเลียบคลองแสนแสบ ไปทางซอยสุขุมวิท 1

ครั้งที่ 2 ใช้เส้นทางเลียบคลองแสนแสบ ไปทางสะพานข้ามแสนแสบ ( อโศก )

เส้นทางสุขุมวิท ซอย 21 ( อโศก ) ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์

ครั้งที่ 3 ใช้เส้นทางบนถนนสุขุมวิท จากสุขุมวิท 19 – สุขุมวิท 35

ครั้งที่ 4 ใช้เส้นถนนสุขุมวิท บริเวณ ซอย 3 และบนถนนสุขุมวิท ในเวลากลางคืน

ผลการสำรวจพื้นที่ นักเรียนแกนนำได้นิยาม พื้นที่ดี หมายถึงพื้นที่ที่ดีต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต และภาวการณ์คิดของมนุษย์พื้นที่เสี่ยง หมายถึง พื้นที่ที่เสี่ยงต่อชีวิต และทรัพย์สิน รวมถึงสภาพจิตใจ และส่งผลในทางลบในความคิดของคนพื้นที่เสี่ยงรอบโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยได้แก่ ผับ บาร์ บริเวณสุขุมวิท ซอย 3 และ ซอยคาวบอย เป็นอบายมุขทั้งเหล้าบุหรี่ และยาเสพติดบางประเภท ตลอดจนเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่งดงามสำหรับหญิงไทยที่มีอาชีพบริการ และอาจมีความเสี่ยงของการเป็นโรคเอดส์ ปัญหาด้านนี้เด็ก ๆเห็นว่าเป็นปัญหาใหญ่ เพราะเป็นการเชื่อมโยงแหล่งธุรกิจขนาดใหญ่จึงให้เป็นนโยบายของรัฐอาจทำได้เพียงจำกัดอายุของผู้เข้าไปใช้บริการ และให้ข้อมูลเรื่องเอดส์แก่หญิงบริการ

ถนนเลียบคลองแสนแสบ บริเวณสะพานข้ามคลองแยกมิตรสัมพันธ์ ถึง ซอย 1 เป็นแหล่งที่มีกองขยะ และการกำจัดขยะโดยการเผา ซึ่งไม่ถูกสุขลักษณะ และเส้นทางเดินไม่มีแสงสว่างเพียงพออาจมีอันตรายโดยเฉพาะผู้หญิง จากการสอบถามข้อมูลพบว่ามีคดีฆาตกรรมในบริเวณนี้ด้วย ควรมีวิธีการกำจัดขยะให้ถูกวิธี และเพิ่มแสงสว่างในเส้นทางเดินเลียบคลองให้มากขึ้น

กิจกรรมขยายผล แผนที่สุขภาพฯ หลังจากสำรวจและทำแผนที่สุขภาพเสร็จแล้ว นักเรียนแกนนำได้เสนอผลงานแผนที่สุขภาพ ภายในโรงเรียนโดยมีการนำเสนอโครงการแก่นักเรียนในวันงานชมรมของโรงเรียน จัดทำบอร์ดนิทรรศการ สื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่โครงการในพื้นที่แก่ผู้ปกครองในโรงเรียนติดป้ายรณรงค์ แจกสติ๊กเกอร์ เรื่องห้ามสูบบุหรี่ในสถานศึกษา นำเสนอแผนที่สุขภาพ ฯ ในที่ประชุมใหญ่ของโรงเรียน โดยมีผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้แทนเขตวัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมรับฟัง

อย่างไรก็ตาม “วัฒนา” ไม่ได้ดำเนินโครงการต่อเนื่องในระยะที่ 2 เนื่องจากโรงเรียนมีจำนวนนักเรียนแกนนำไม่เพียงพอตามวัตถุประสงค์โครงการในระยะที่ 2 แต่ครูที่ปรึกษาสามารถขับเคลื่อนโครงการต่อได้ โดยบูรณาการสู่วิชาเรียนขยายผลสู่นักเรียนรุ่นที่ 2 พัฒนาคลองวัฒนา จากในโรงเรียนสู่ชุมชน ศึกษาดูงานลดน้ำเสียในคลองจากโรงเรียนเทพลีลา รณรงค์การจัดการน้ำเสียแก่แม่ค้าร้านสหกรณ์โรงเรียนและชมรมรู้เท่าทันสื่อได้นำข้อมูลพื้นที่ดี พื้นที่เสี่ยงมาจัดทำเป็นโครงการมัลติมีเดีย โดยมีนักเรียนแกนนำรุ่นแรกเป็นผู้จัดทำ นับเป็นการพัฒนาพื้นที่ดีในโรงเรียนด้วยเช่นกันและได้รับความร่วมมือจากฝ่ายรักษาสิ่งแวดล้อม เขตวัฒนา ประสานงานเรื่องการทำให้ลำคลองในเขตวัฒนาใสมากยิ่งขึ้น และดำเนินการอย่างต่อเนื่องศึกษาดูงาน

แผนภาพการดำเนินโครงการแผนที่สุขภาพฯ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (Flow Chart)

ข้อค้นพบ พื้นที่เสี่ยงได้แก่ ผับ บาร์ บริเวณสุขุมวิท ซอย 3 และ ซอยคาวบอย เป็นอบายมุขทั้งเหล้าบุหรี่ และยาเสพติดบางประเภท หญิงไทยอาชีพบริการ

โครงการแผนที่สุขภาพ ระยะที่ 1

โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย”

แกนนำนักเรียนทำกิจกรรม

นักเรียนแกนนำโรงเรียนวัฒนา

พื้นที่การสำรวจแบ่งเป็น 4 สาย

1. เส้นทางเลียบคลองแสนแสบ ไปทางซอยสุขุมวิท 1

2. เส้นทางเลียบคลองแสนแสบ ไปทางสะพานข้ามแสนแสบ (อโศก ) เส้นทางสุขุมวิท ซอย 21 ( อโศก ) ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์

3. เส้นทางบนถนนสุขุมวิท จากสุขุมวิท 19 – สุขุมวิท 35

4. ถนนสุขุมวิท บริเวณ ซอย 3 และบนถนนสุขุมวิท

จัดอบรมขยายผลสร้างในโรงเรียน

กลุ่มวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา และชมรมรู้เท่าทันสื่อสนใจ

แบบสำรวจพื้นที่ดีพื้นที่เสี่ยง

กิจกรรมสำรวจทำแผนที่ฯ

พื้นที่ดีพื้นที่เสี่ยง”

ความรู้มาใช้

โครงการต่อเนื่อง

กิจกรรมขยายผล

-เผยแพร่ความรู้เรื่องพื้นที่ดี พื้นที่เสี่ยง แก่ครูและนักเรียนโดยมีการนำเสนอแผนที่สุขภาพ ฯ ให้กับผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้แทนเขตวัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมรับฟัง

-ติดป้ายรณรงค์ สติ๊กเกอร์ ห้ามสูบบุหรี่ในรร.

กิจกรรมโครงการ

-พัฒนาคลองวัฒนาจากในรร.สู่ชุมชนโดยรณรงค์จัดการน้ำเสียแก่แม่ค้าร้านสหกรณ์รร.และชมรมโดยนำข้อมูลพื้นที่ดี/เสี่ยงมาจัดทำเป็นโครงการมัลติมีเดีย

บทเรียนจากการดำเนินโครงการที่ประสบผลสำเร็จ

ปัจจัยหลัก

การบูรณาการโครงการร่วมกับวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษาภายใต้ข้อจำกัดของโรงเรียน เนื่องจากโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยเป็นโรงเรียนประจำสตรี การเรียนรู้ในกิจกรรมเดินสำรวจชุมชน มีข้อจำกัดในการทำงานอยู่บ้าง เรื่องเวลา และระเบียบของโรงเรียน แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด ทั้งนี้ ครูที่ปรึกษาซึ่งเป็นครูบพ.ของโรงเรียนวัฒนาและเป็นครูสอนวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษาได้นำโครงการแผนที่สุขภาพฯเชื่อมโยงบูรณาการกับวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อให้นักเรียนวัฒนาได้มีโอกาสเรียนรู้ลักษณะชุมชนใกล้เคียง

กาญจนา ครูที่ปรึกษากล่าวว่า “การนำโครงการมาร่วมในการสอนวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษานั้น เอื้อต่อทักษะกระบวนการคิด การสังเกต วิเคราะห์เชื่อมโยงกระบวนการทำงานเป็นกลุ่มได้รับประสบการณ์ตรงในเรียนรู้จากสถานที่จริง โดยเฉพาะในเวลากลางคืนบริเวณถนนสุขุมวิท เป็นแหล่งที่อันตรายสำหรับนักเรียนเป็นอย่างยิ่ง เป็นโอกาสดีที่นักเรียนวัฒนาจะได้รับประสบการณ์ในการสำรวจชุมชนรอบโรงเรียนได้สัมภาษณ์ผู้คน แม้ว่าส่วนใหญ่เด็กจะอยู่แต่ในโรงเรียน แต่ก็สามารถตระหนักต่อพื้นที่เสี่ยงได้เช่นกัน”

โรงเรียนมีความสัมพันธ์กับชุมชน แม้โรงเรียนวัฒนาฯเป็นโรงเรียนประจำ แต่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ร่วมงานกับชุมชน และหน่วยงานต่างๆ เช่น โครงการของสำนักงานเขตวัฒนา อาทิ คลองสวยน้ำใส โครงการรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน เป็นต้น นอกจากนี้โรงเรียนวัฒนาฯยังมีส่วนช่วยเหลือชุมชนโดยการรวบรวมสิ่งของบริจาคแก่ชุมชนใกล้เคียงอย่าง ชุมชนรื่นฤดี ชุมชนวัฒนาด้านหลังโรงเรียน ด้านการเรียนรู้นอกห้องเรียน กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์เคยพานักเรียนออกสำรวจนอกโรงเรียนเพื่อศึกษาระบบนิเวศ แต่ยังไม่เคยมีการสำรวจเพื่อจัดทำแผนที่อย่างโครงการนี้มาก่อน

ปัจจัยสนับสนุน

1. ครูที่ปรึกษาเป็นครูผู้ฝึกของสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ฯมีประสบการณ์การฝึกทักษะแก่กลุ่มนักเรียนแกนนำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

2. โรงเรียน ศิษย์เก่า และครูท่านอื่นให้การสนับสนุน ร่วมเดินสำรวจ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ได้เป็นอย่างดี ศิษย์เก่าที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ที่สำรวจได้และแนะนำชุมชนรื่นฤดี และร่วมเดินสำรวจ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ ด้านครูสอนวิชาคอมพิวเตอร์ได้ร่วมฝึกให้นักเรียนแกนนำใช้โปรแกรมในการจัดทำแผนที่และนำเสนอให้ความรู้ในเวปไซด์ของโรงเรียน

ปัจจัยแทรก

ครูที่ปรึกษาไม่ได้แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์โครงการแก่นักเรียนทั่วทั้งโรงเรียน จะทราบเฉพาะในกลุ่มนักเรียนที่เรียนวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษาเท่านั้น เนื่องจากโรงเรียนวัฒนาจะจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับเวลาเรียนสำหรับนักเรียนอยู่แล้ว ส่วนใหญ่โครงการระยะยาวที่ผ่านมายังโรงเรียน นักเรียนวัฒนาจะสนใจน้อย เวลาว่างของนักเรียนจะตรงกันตามระดับชั้นที่โรงเรียนกำหนดไว้ ทำให้เด็กนักเรียนสนใจที่จะทำอย่างอื่นมากกว่า วันหยุดเสาร์-อาทิตย์เด็กจะกลับบ้าน ดังนั้น จึงเลือกการประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวเฉพาะกลุ่มจะเกิดการรวมตัว สามารถกำหนดขั้นตอนการบริหารจัดการโครงการในกลุ่มนักเรียนแกนนำได้ดีกว่า

ข้อค้นพบ

นักเรียนขยายผลสู่แนวทางพัฒนาภายในโรงเรียนและเกิดการมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยนักเรียนวิชาสิ่งแวดล้อมรุ่นต่อไปได้วางแผนงานดูแลคูคลองน้ำเสียในคลองวัฒนาในภาคเรียนปัจจุบันมีการรณรงค์การจัดการน้ำเสียแก่แม่ค้าร้านสหกรณ์โรงเรียน ด้านครูที่ปรึกษาได้รับความร่วมมือจากฝ่ายรักษาสิ่งแวดล้อม เขตวัฒนา ประสานงานเรื่องการทำให้ลำคลองในเขตวัฒนา และพานักเรียนศึกษาดูงานลดน้ำเสียในคลองจากโรงเรียนเทพลีลา และนักเรียนแกนนำรุ่นแรกเป็นผู้จัดทำชมรมรู้เท่าทันสื่อโดยนำข้อมูลพื้นที่ดี พื้นที่เสี่ยง มาจัดทำโครงการมัลติมีเดีย พัฒนาความรู้ในโรงเรียนต่อไป

รายชื่อผู้ให้ข้อมูล

1. กาญจนา แสงปลั่ง ครูที่ปรึกษาโครงการและครูวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา

2. กมลวรรณ คุรานุสนธิ์ นักเรียนแกนนำระยะที่ 1 ชั้น ม.4

3. ญาณิน สุทธิเดชานัย นักเรียนแกนนำระยะที่ 1 ชั้น ม.4

4. ฐิติวรดา ศิริทองถาวร นักเรียนแกนนำระยะที่ 1 ชั้น ม.4

5. ศุภณัฐ ล้วนรุ่งเรือง นักเรียนวิชาสิ่งแวดล้อม ชั้น ม.3

6. ปภัสสร พิทักษ์วงษ ม.3

ประเด็นที่เป็นเป้าหมายการสังเคราะห์ความรู้

  1. ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิหลังและศักยภาพของผู้ดำเนินโครงการหรือคณะ
  • ภูมิลำเนา / สถานภาพ / อาชีพ / ระดับการศึกษา
  • ฐานประสบการณ์เดิมด้านการทำงานสร้างเสริมสุขภาพ
  • ฐานประสบการณ์การรับทุนจาก สสส.
  • จุดเชื่อมโยงให้มาเป็นภาคีผู้รับทุนจาก สสส.
  1. ภูมิหลังของโครงการ

เป็นโครงการริเริ่มใหม่ หรือระยะต่อเนื่อง

3. การถอดบทเรียนที่ทำให้เห็นกระบวนการดำเนินโครงการที่เป็นต้นแบบในเชิงนวัตกรรม หรือมีประสิทธิภาพ

  • ปัจจัยเกี่ยวกับวิธีคิด / ระบบความคิดของแกนนำหรือคณะผู้ดำเนินโครงการ
  • ปัจจัยด้านความรู้
  • ปัจจัยด้านประสบการณ์ หรือกระบวนการเรียนรู้
  • ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ
  • ปัจจัยสนับสนุน/แทรกแซงจากภายนอก
  • การสร้างเงื่อนไขให้เกิดความต่อเนื่องยั่งยืน
  • การทำงานแบบมีส่วนร่วม เป็นเครือข่าย
  • ทุนทางสังคม
  • ค้นหาผู้ดำเนินโครงการ หรือกลุ่มแกนหลักมิติของนักสร้างเสริมสุขภาพระดับพื้นที่ ที่มีศักยภาพในการแลกเปลี่ยนหรือหนุนเสริมภาคีอื่น ๆ โดยระบุจุดเด่น เพื่อจัดทำ human mapping
  • เงื่อนไขความสำเร็จของผู้นำ องค์กร หรือชุมชน ที่มีศักยภาพ
4. เงื่อนไขที่สร้างความแปรปรวนต่อการควบคุมให้เกิดผลตามแผนงาน

  • ประมวลเงื่อนไขที่ทำให้โครงการไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย
  • ขอบเขตความสามารถของภาคีผู้รับทุนในการจัดการเงื่อนไขดังกล่าว
5. สัญญาณว่าน่าจะเกิดความต่อเนื่องยั่งยืน

  • จำนวนโครงการที่ผู้รับผิดชอบโครงการต้องการพัฒนาองค์ความรู้ต่อเนื่อง
  • มีการดำเนินโครงการ / กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพต่อเนื่องในลักษณะต่าง ๆ

เกณฑ์การคัดเลือกโครงการตัวอย่าง 20 โครงการ

  1. ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ ทำได้ตามแผนงานไม่ต่ำกว่า 80% ตามข้อเสนอโครงการ (ดูจากกิจกรรม การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และระยะเวลาดำเนินการ)
  2. การออกแบบและดำเนินโครงการแสดงวิธีคิดที่เป็นระบบเชื่อมโยงเป็นกระบวนการ
  3. เกิดผลกระทบต่อกลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์โครงการ และมีโอกาสที่จะขยายผลต่อเนื่อง
  4. มีการริเริ่มสร้างสรรค์แนวทางดำเนินการใหม่ โดยเชื่อมโยงกับฐานความรู้ ภูมิปัญญาในท้องถิ่น และการพึ่งตนเอง
  5. คิดค้นวิธีแก้ปัญหาการดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพด้วยวิธีการใหม่ ๆ แม้ไม่สำเร็จสมบูรณ์ แต่สะท้อนถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ บนพื้นฐานความรู้ และมีการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อนำมาแก้ไข ปรับปรุง ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

วัฒนาวิทยาลัย ชิมลางแผนที่สุขภาพ เปิดประสบการณ์สำรวจพื้นที่นอกร

ต้นฉบับสำหรับสื่อสาร

เปิดประสบการณ์นอกรั้ววัฒนาวิทยาลัย ทำแผนที่สุขภาพกลางกรุง”

ภาพประกอบ

วัฒนาวิทยาลัย ชิมลางแผนที่สุขภาพ เปิดประสบการณ์สำรวจพื้นที่นอกรั้วครั้งแรก พร้อมนำแผนที่สุขภาพฯบูรณาการกิจกรรมชมรม รู้เท่าทันสื่อและสิ่งแวดล้อมศึกษา เล็งจัดระเบียบแม่ค้าสหกรณ์ทิ้งน้ำเสียลงคลอง

กิจกรรมเดินเท้าสำรวจชุมชนในโครงการแผนที่สุขภาพเพื่อพื้นที่ดี พื้นที่เสี่ยง รอบโรงเรียน เพื่อสร้างสุขภาวะในพื้นที่ใกล้โรงเรียน เป็นอีกทางเลือกสร้างสุขภาพที่ดี โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)จับมือกับสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทย(บพ.) สนับสนุนทุนในกิจกรรมสำรวจพื้นที่รอบโรงเรียนในระยะ 1-5 ตารางกิโลเมตร เปิดโอกาสให้กับกลุ่มโรงเรียนที่สนใจทำความดีในชุมชนทั่วประเทศ ซึ่งแม้ว่าโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย เป็นโรงเรียนประจำ แต่ครูและนักเรียนก็ได้เข้าร่วมโครงการ และผลักดันกิจกรรมแผนที่สุขภาพให้เป็นส่วนหนึ่งของการทำความดีถวาย “ในหลวง” อันเป็นวัตถุประสงค์สำคัญของโครงการด้วย

ที่ตั้งของโรงเรียนวัฒนาอยู่ย่านเศรษฐกิจ จึงเห็นความแตกต่างชัดเจนระหว่างพื้นที่ดี พื้นที่เสี่ยง ตามเส้นทางสำรวจจากโรงเรียน ส่วนใหญ่จะแวดล้อมไปด้วยย่านการค้าสำคัญ อาทิ โรงแรม ห้างสรรพสินค้า สถานีรถไฟฟ้า และผับ บาร์ ร้านค้าที่มีการจำหน่ายสุรา ร้านค้าและสถานบริการต่างๆ โดยเฉพาะแหล่งที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวในเขตเศรษฐกิจ

พื้นที่เหล่านี้ เด็กๆ ที่เดินสำรวจได้ใช้สัญลักษณ์ในแผนที่ โดยใช้สีแดง แทนพื้นที่เสี่ยง และ สีเขียว เป็นสัญลักษณ์แทนพื้นที่ดี อย่างเช่น สยามสมาคม เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมของประเทศไทย สวนเบญจกิตติ สวนเบญจสิริ และสวนชูวิทย์ เป็นสวนสาธารณะสถานที่พักผ่อน ออกกำลังกาย และจัดงานด้านศิลปวัฒนธรรม เช่น ดนตรีในสวน

ฐิติวรดา ศิริทองถาวร หรือ “สไมล์” นักเรียนแกนนำ ชั้น ม.4 เล่าถึงความรู้สึกในการทำกิจกรรมนี้ว่า “ตอนเดินสำรวจซักถามชาวบ้าน เพื่อเก็บข้อมูลพบปัญหาที่น่าตกใจมากที่สุด คือ มีกองโตลอยอืดเต็มคลองแสนแสบ ใกล้ท่าเรือนานาชาติ โดยป้าที่อยู่แถวนั้น บอกว่าเมื่อก่อนแย่ยิ่งกว่านี้ มีเด็กตกลงไปด้วย จึงต้องแจ้งให้สำนักงานเขตมาทำราวกั้นคลอง”

ญาณิน สุทธิเดชานัย หรือ “ณินนักเรียนแกนนำฝ่ายจัดทำแผนที่ของทีม เล่าความประทับใจว่า แม้ขั้นตอนการจัดทำแผนที่สุขภาพค่อนข้างยากแต่ก็สนุกที่สุดทุกคนช่วยกันต่อแผนที่ จากแผ่นเล็กๆเป็นแผ่นใหญ่ นอกจากนี้ยังมีคุณครูสอนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนขั้นตอนจัดทำลงเวปไซด์ของโรงเรียนด้วย

ปัจจุบัน โรงเรียนวัฒนาได้นำแผนที่สุขภาพบูรณาการกับวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยมี กาญจนา แสงปลั่ง ครูที่ปรึกษาโครงการเป็นผู้สอน และสนับสนุนกิจกรรมแก่นักเรียนแกนนำได้สำรวจชุมชนและจัดทำแผนที่สุขภาพ แม้ว่าโรงเรียนวัฒนามีข้อจำกัดในเรื่องเวลา และระเบียบของโรงเรียนที่เข้มงวดมาก และกิจกรรมที่โรงเรียนจัดให้นักเรียนอนุญาตให้ดำเนินการในโรงเรียนเท่านั้นนับเป็นข้อจำกัดในการทำงาน แต่การดำเนินโครงการระยะที่ 1 ก็สามารถจัดกระบวนการอบรมให้กับนักเรียนสมาชิกที่สนใจในโรงเรียนวัฒนาได้

กาญจนา ครูที่ปรึกษา โครงการ กล่าวถึงประโยชน์ของโครงการแผนที่สุขภาพว่า “การนำโครงการมาร่วมในการเรียนการสอนวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษานั้น เอื้อต่อทักษะกระบวนการคิด การสังเกต วิเคราะห์เชื่อมโยงกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม ได้รับประสบการณ์ตรงในเรียนรู้จากสถานที่จริง โดยเฉพาะเวลากลางคืนบริเวณถนนสุขุมวิท เป็นแหล่งอันตรายสำหรับนักเรียนเป็นอย่างยิ่ง เป็นโอกาสดีที่นักเรียนวัฒนาจะได้รับประสบการณ์ในการสำรวจชุมชนรอบโรงเรียนได้สัมภาษณ์ผู้คน แม้ว่าส่วนใหญ่เด็กจะอยู่แต่ในโรงเรียน แต่ก็สามารถตระหนักต่อพื้นที่เสี่ยงได้เช่นกัน”

อย่างไรก็ตามแม้ว่า โรงเรียนวัฒนาฯไม่ได้เสนอโครงการต่อระยะที่ 2 เพราะจำนวนนักเรียนในชมรมมีน้อย และไม่ใช่วิชาบังคับ บางคนจบการศึกษาไปบ้าง แต่ยังมีความต่อเนื่องจากนักเรียนกลุ่มใหม่ได้สานต่อแผนงานดูแลคูคลองน้ำเสียในคลองวัฒนา และรณรงค์การจัดการน้ำเสียแก่แม่ค้าร้านสหกรณ์โรงเรียนต่อไป

กมลวรรณ คุรานุสนธิ์ “ไม้เอก” นักเรียนชั้น ม.4 แกนนำโครงการ บอกว่า โครงการนี้ให้โอกาสนักเรียนประจำอย่างโรงเรียนวัฒนาได้มีโอกาสได้ทำโครงการร่วมกับชุมชน แม้จะยังไม่สามารถลดพื้นที่เสี่ยงได้แต่ก็ได้พบเห็นปัญหาของชุมชน แล้วนำมาปรับใช้ในโรงเรียนได้ ซึ่งตอนนี้ก็นำข้อมูลจากโครงการมาจัดกิจกรรมต่อในชมรมรู้เท่าทันสื่อ เรียนรู้ได้หลากหลายมากขึ้น

เห็นไหมว่า กิจกรรมทำความดีง่ายๆทำได้ทุกโรงเรียน วัฒนาวิทยาลัยเป็นโรงเรียนประจำขอยืนยันเสียงดังว่า “พวกเราทำได้”

รายงานตัวอย่างกรณีศึกษา Good Practice

เปิดประสบการณ์นอกรั้ว วัฒนาวิทยาลัยกับแผนที่สุขภาพกลางกรุง

ผู้ดำเนินโครงการ : โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย

สถานที่ตั้ง : เขตวัฒนา กรุงเทพฯ

บทเรียนโครงการแผนที่สุขภาพฯ : โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย

โครงการแผนที่สุขภาพ เพิ่มพื้นที่ดี ลดพื้นที่เสี่ยง” ดำเนินการโดยโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนสตรีอยู่ประจำ ของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เปิดสอนระดับปฐมวัยถึงระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รับนักเรียนไป-กลับ ในระดับประถมศึกษา และนักเรียนประจำในระดับมัธยม โรงเรียนวัฒนาฯเปิดสอนกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์เพียงอย่างเดียว มีผู้บำเพ็ญประโยชน์ทุกรุ่น มีกลุ่มนักเรียนบพ.ม.3 จำนวน 24 คน เป็นผู้ดำเนินโครงการโดยมี กาญจนา แสงปลั่ง เป็นครูบพ.และเป็นครูผู้ฝึกของสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ฯ เป็นครูที่ปรึกษาโครงการ

สภาพพื้นที่รอบโรงเรียน “วัฒนาวิทยาลัย” ตั้งอยู่ย่านธุรกิจ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ บริเวณโดยรอบเป็นชุมชนเมือง ประกอบด้วยสถานศึกษา โรงพยาบาล โรงแรม ธนาคาร และสำนักงานเขต เช่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (วิทยาเขตประสานมิตร) โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร โรงเรียนเซนต์ดอมินิก โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน โรงแรม Westin และแลนด์มาร์ค ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ และสำนักงานเขตวัฒนา เป็นต้น พบพื้นที่เสี่ยง ได้แก่ ผับ บาร์ บริเวณสุขุมวิท ซอย 3 และ ซอยคาวบอย เป็นแหล่งอบายมุขทั้งเหล้าบุหรี่ และยาเสพติดบางประเภท หญิงไทยที่มีอาชีพบริการ และอาจมีความเสี่ยงของการเป็นโรคติดต่อร้ายแรง ปัญหาด้านนี้เด็ก ๆเห็นว่าเป็นปัญหาใหญ่ เพราะเป็นการเชื่อมโยงแหล่งธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่เยาวชน ซึ่งเข้าไปแก้ปัญหาส่วนนี้ไม่ได้ อาจทำได้เพียงรณรงค์แก่เยาวชนในโรงเรียนให้ตระหนักและหลีกเลี่ยงพื้นที่ดังกล่าว รวมถึงให้ข้อมูลเรื่องเอดส์แก่หญิงบริการ ด้านถนนเลียบคลองแสนแสบ เป็นแหล่งที่มีกองขยะ และการกำจัดขยะโดยการเผา ซึ่งไม่ถูกสุขลักษณะ และเส้นทางเดินไม่มีแสงสว่างเพียงพออาจมีอันตราย

ลักษณะโครงการแผนที่สุขภาพฯ จุดเด่นของโครงการ การบูรณาการจากกิจกรรมในโครงการแผนที่สุขภาพฯโดยได้เปิดโอกาสให้นักเรียนแกนนำของโรงเรียนวัฒนาซึ่งเป็นโรงเรียนประจำสตรีได้สำรวจพื้นที่ดี พื้นที่เสี่ยงในชุมชนใกล้โรงเรียนและต่อยอดเป็นบทเรียนการเรียนรู้ขยายผลสู่นักเรียน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา และชมรมรู้เท่าทันสื่อ ทั้งนี้เป็นการขยายผลจากบทเรียนจากโครงการแผนที่สุขภาพฯ ทั้งระยะที่ 1

ผลลัพธ์การดำเนินโครงการ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยเป็นโรงเรียนประจำสตรี การเรียนรู้และทำงานในการสำรวจพื้นที่ พบว่า เรื่องเวลา ระเบียบของโรงเรียน และกิจกรรมที่โรงเรียนจัดให้นักเรียนอนุญาติให้ดำเนินการในโรงเรียนเท่านั้นนับเป็นข้อจำกัดในการทำงาน จึงได้บูรณาการกับวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยมีครูที่ปรึกษาโครงการเป็นผู้สอน จึงได้สนับสนุนกิจกรรมแก่นักเรียนแกนนำได้สำรวจชุมชนและจัดทำแผนที่สุขภาพ แม้โรงเรียนจะมีข้อจำกัดในการดำเนินโครงการแต่ผลจากโครงการระยะที่ 1 แต่ไม่ได้หยุดดำเนินโครงการระยะที่ 1 สามารถจัดกระบวนการให้นักเรียนแกนนำฝึกทักษะที่ได้จากการอบรมสัมมนานำมาจัดทำในแบบฉบับของโรงเรียนวัฒนาได้ จึงมีการสำรวจและจัดทำแผนที่สุขภาพตามแผนงานโครงการระยะที่ 1

การบริหารจัดการโครงการแผนที่สุขภาพฯระยะที่ 1

การจัดหาบุคลากร ครูที่ปรึกษาโครงการได้แจ้งประชาสัมพันธ์โครงการแผนที่สุขภาพเฉพาะนักเรียนในกลุ่มที่เรียนวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษาเท่านั้น ซึ่งเป็นวิชาเลือกเพิ่มเติมในหมวดสังคมศึกษาเปิดสอนตามจำนวนนักเรียนที่สนใจศึกษา ซึ่งหลังจากอบรมสัมมนาครูและแกนนำนักเรียน ทีมงานของโรงเรียนวัฒนาได้นำโครงการแผนที่สุขภาพไปบูรณาการกับวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษาขยายผลสู่สมาชิกในโครงการ 21 คน แบ่งงานกันสำรวจเป็นฝ่ายเขียนแผนที่ ฝ่ายสำรวจพื้นที่ดี ฝ่ายสำรวจพื้นที่เสี่ยง ฝ่ายถ่ายภาพ ฝ่ายรวบรวมข้อมูล และครูที่ปรึกษาเป็นแกนนำพานักเรียนสำรวจในพื้นที่ชุมชน ร่วมกับศิษย์เก่าของโรงเรียนซึ่งมีบ้านอยู่ใกล้พื้นที่สำรวจ

การวางแผนสำรวจพื้นที่ นักเรียนแกนนำได้สำรวจพื้นที่ รอบโรงเรียน โดยแบ่งบุคคลสำรวจเป็นฝ่าย เดินสำรวจพร้อมกัน 25 คน ร่วมกันสำรวจพื้นที่ 4 ครั้ง

ครั้งที่ 1 ใช้เส้นทางเลียบคลองแสนแสบ ไปทางซอยสุขุมวิท 1

ครั้งที่ 2 ใช้เส้นทางเลียบคลองแสนแสบ ไปทางสะพานข้ามแสนแสบ ( อโศก )

เส้นทางสุขุมวิท ซอย 21 ( อโศก ) ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์

ครั้งที่ 3 ใช้เส้นทางบนถนนสุขุมวิท จากสุขุมวิท 19 – สุขุมวิท 35

ครั้งที่ 4 ใช้เส้นถนนสุขุมวิท บริเวณ ซอย 3 และบนถนนสุขุมวิท ในเวลากลางคืน

ผลการสำรวจพื้นที่ นักเรียนแกนนำได้นิยาม พื้นที่ดี หมายถึงพื้นที่ที่ดีต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต และภาวการณ์คิดของมนุษย์พื้นที่เสี่ยง หมายถึง พื้นที่ที่เสี่ยงต่อชีวิต และทรัพย์สิน รวมถึงสภาพจิตใจ และส่งผลในทางลบในความคิดของคนพื้นที่เสี่ยงรอบโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยได้แก่ ผับ บาร์ บริเวณสุขุมวิท ซอย 3 และ ซอยคาวบอย เป็นอบายมุขทั้งเหล้าบุหรี่ และยาเสพติดบางประเภท ตลอดจนเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่งดงามสำหรับหญิงไทยที่มีอาชีพบริการ และอาจมีความเสี่ยงของการเป็นโรคเอดส์ ปัญหาด้านนี้เด็ก ๆเห็นว่าเป็นปัญหาใหญ่ เพราะเป็นการเชื่อมโยงแหล่งธุรกิจขนาดใหญ่จึงให้เป็นนโยบายของรัฐอาจทำได้เพียงจำกัดอายุของผู้เข้าไปใช้บริการ และให้ข้อมูลเรื่องเอดส์แก่หญิงบริการ

ถนนเลียบคลองแสนแสบ บริเวณสะพานข้ามคลองแยกมิตรสัมพันธ์ ถึง ซอย 1 เป็นแหล่งที่มีกองขยะ และการกำจัดขยะโดยการเผา ซึ่งไม่ถูกสุขลักษณะ และเส้นทางเดินไม่มีแสงสว่างเพียงพออาจมีอันตรายโดยเฉพาะผู้หญิง จากการสอบถามข้อมูลพบว่ามีคดีฆาตกรรมในบริเวณนี้ด้วย ควรมีวิธีการกำจัดขยะให้ถูกวิธี และเพิ่มแสงสว่างในเส้นทางเดินเลียบคลองให้มากขึ้น

กิจกรรมขยายผล แผนที่สุขภาพฯ หลังจากสำรวจและทำแผนที่สุขภาพเสร็จแล้ว นักเรียนแกนนำได้เสนอผลงานแผนที่สุขภาพ ภายในโรงเรียนโดยมีการนำเสนอโครงการแก่นักเรียนในวันงานชมรมของโรงเรียน จัดทำบอร์ดนิทรรศการ สื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่โครงการในพื้นที่แก่ผู้ปกครองในโรงเรียนติดป้ายรณรงค์ แจกสติ๊กเกอร์ เรื่องห้ามสูบบุหรี่ในสถานศึกษา นำเสนอแผนที่สุขภาพ ฯ ในที่ประชุมใหญ่ของโรงเรียน โดยมีผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้แทนเขตวัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมรับฟัง

อย่างไรก็ตาม “วัฒนา” ไม่ได้ดำเนินโครงการต่อเนื่องในระยะที่ 2 เนื่องจากโรงเรียนมีจำนวนนักเรียนแกนนำไม่เพียงพอตามวัตถุประสงค์โครงการในระยะที่ 2 แต่ครูที่ปรึกษาสามารถขับเคลื่อนโครงการต่อได้ โดยบูรณาการสู่วิชาเรียนขยายผลสู่นักเรียนรุ่นที่ 2 พัฒนาคลองวัฒนา จากในโรงเรียนสู่ชุมชน ศึกษาดูงานลดน้ำเสียในคลองจากโรงเรียนเทพลีลา รณรงค์การจัดการน้ำเสียแก่แม่ค้าร้านสหกรณ์โรงเรียนและชมรมรู้เท่าทันสื่อได้นำข้อมูลพื้นที่ดี พื้นที่เสี่ยงมาจัดทำเป็นโครงการมัลติมีเดีย โดยมีนักเรียนแกนนำรุ่นแรกเป็นผู้จัดทำ นับเป็นการพัฒนาพื้นที่ดีในโรงเรียนด้วยเช่นกันและได้รับความร่วมมือจากฝ่ายรักษาสิ่งแวดล้อม เขตวัฒนา ประสานงานเรื่องการทำให้ลำคลองในเขตวัฒนาใสมากยิ่งขึ้น และดำเนินการอย่างต่อเนื่องศึกษาดูงาน

แผนภาพการดำเนินโครงการแผนที่สุขภาพฯ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (Flow Chart)

ข้อค้นพบ พื้นที่เสี่ยงได้แก่ ผับ บาร์ บริเวณสุขุมวิท ซอย 3 และ ซอยคาวบอย เป็นอบายมุขทั้งเหล้าบุหรี่ และยาเสพติดบางประเภท หญิงไทยอาชีพบริการ

โครงการแผนที่สุขภาพ ระยะที่ 1

โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย”

แกนนำนักเรียนทำกิจกรรม

นักเรียนแกนนำโรงเรียนวัฒนา

พื้นที่การสำรวจแบ่งเป็น 4 สาย

1. เส้นทางเลียบคลองแสนแสบ ไปทางซอยสุขุมวิท 1

2. เส้นทางเลียบคลองแสนแสบ ไปทางสะพานข้ามแสนแสบ (อโศก ) เส้นทางสุขุมวิท ซอย 21 ( อโศก ) ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์

3. เส้นทางบนถนนสุขุมวิท จากสุขุมวิท 19 – สุขุมวิท 35

4. ถนนสุขุมวิท บริเวณ ซอย 3 และบนถนนสุขุมวิท

จัดอบรมขยายผลสร้างในโรงเรียน

กลุ่มวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา และชมรมรู้เท่าทันสื่อสนใจ

แบบสำรวจพื้นที่ดีพื้นที่เสี่ยง

กิจกรรมสำรวจทำแผนที่ฯ

พื้นที่ดีพื้นที่เสี่ยง”

ความรู้มาใช้

โครงการต่อเนื่อง

กิจกรรมขยายผล

-เผยแพร่ความรู้เรื่องพื้นที่ดี พื้นที่เสี่ยง แก่ครูและนักเรียนโดยมีการนำเสนอแผนที่สุขภาพ ฯ ให้กับผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้แทนเขตวัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมรับฟัง

-ติดป้ายรณรงค์ สติ๊กเกอร์ ห้ามสูบบุหรี่ในรร.

กิจกรรมโครงการ

-พัฒนาคลองวัฒนาจากในรร.สู่ชุมชนโดยรณรงค์จัดการน้ำเสียแก่แม่ค้าร้านสหกรณ์รร.และชมรมโดยนำข้อมูลพื้นที่ดี/เสี่ยงมาจัดทำเป็นโครงการมัลติมีเดีย

บทเรียนจากการดำเนินโครงการที่ประสบผลสำเร็จ

ปัจจัยหลัก

การบูรณาการโครงการร่วมกับวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษาภายใต้ข้อจำกัดของโรงเรียน เนื่องจากโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยเป็นโรงเรียนประจำสตรี การเรียนรู้ในกิจกรรมเดินสำรวจชุมชน มีข้อจำกัดในการทำงานอยู่บ้าง เรื่องเวลา และระเบียบของโรงเรียน แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด ทั้งนี้ ครูที่ปรึกษาซึ่งเป็นครูบพ.ของโรงเรียนวัฒนาและเป็นครูสอนวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษาได้นำโครงการแผนที่สุขภาพฯเชื่อมโยงบูรณาการกับวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อให้นักเรียนวัฒนาได้มีโอกาสเรียนรู้ลักษณะชุมชนใกล้เคียง

กาญจนา ครูที่ปรึกษากล่าวว่า “การนำโครงการมาร่วมในการสอนวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษานั้น เอื้อต่อทักษะกระบวนการคิด การสังเกต วิเคราะห์เชื่อมโยงกระบวนการทำงานเป็นกลุ่มได้รับประสบการณ์ตรงในเรียนรู้จากสถานที่จริง โดยเฉพาะในเวลากลางคืนบริเวณถนนสุขุมวิท เป็นแหล่งที่อันตรายสำหรับนักเรียนเป็นอย่างยิ่ง เป็นโอกาสดีที่นักเรียนวัฒนาจะได้รับประสบการณ์ในการสำรวจชุมชนรอบโรงเรียนได้สัมภาษณ์ผู้คน แม้ว่าส่วนใหญ่เด็กจะอยู่แต่ในโรงเรียน แต่ก็สามารถตระหนักต่อพื้นที่เสี่ยงได้เช่นกัน”

โรงเรียนมีความสัมพันธ์กับชุมชน แม้โรงเรียนวัฒนาฯเป็นโรงเรียนประจำ แต่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ร่วมงานกับชุมชน และหน่วยงานต่างๆ เช่น โครงการของสำนักงานเขตวัฒนา อาทิ คลองสวยน้ำใส โครงการรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน เป็นต้น นอกจากนี้โรงเรียนวัฒนาฯยังมีส่วนช่วยเหลือชุมชนโดยการรวบรวมสิ่งของบริจาคแก่ชุมชนใกล้เคียงอย่าง ชุมชนรื่นฤดี ชุมชนวัฒนาด้านหลังโรงเรียน ด้านการเรียนรู้นอกห้องเรียน กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์เคยพานักเรียนออกสำรวจนอกโรงเรียนเพื่อศึกษาระบบนิเวศ แต่ยังไม่เคยมีการสำรวจเพื่อจัดทำแผนที่อย่างโครงการนี้มาก่อน

ปัจจัยสนับสนุน

1. ครูที่ปรึกษาเป็นครูผู้ฝึกของสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ฯมีประสบการณ์การฝึกทักษะแก่กลุ่มนักเรียนแกนนำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

2. โรงเรียน ศิษย์เก่า และครูท่านอื่นให้การสนับสนุน ร่วมเดินสำรวจ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ได้เป็นอย่างดี ศิษย์เก่าที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ที่สำรวจได้และแนะนำชุมชนรื่นฤดี และร่วมเดินสำรวจ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ ด้านครูสอนวิชาคอมพิวเตอร์ได้ร่วมฝึกให้นักเรียนแกนนำใช้โปรแกรมในการจัดทำแผนที่และนำเสนอให้ความรู้ในเวปไซด์ของโรงเรียน

ปัจจัยแทรก

ครูที่ปรึกษาไม่ได้แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์โครงการแก่นักเรียนทั่วทั้งโรงเรียน จะทราบเฉพาะในกลุ่มนักเรียนที่เรียนวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษาเท่านั้น เนื่องจากโรงเรียนวัฒนาจะจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับเวลาเรียนสำหรับนักเรียนอยู่แล้ว ส่วนใหญ่โครงการระยะยาวที่ผ่านมายังโรงเรียน นักเรียนวัฒนาจะสนใจน้อย เวลาว่างของนักเรียนจะตรงกันตามระดับชั้นที่โรงเรียนกำหนดไว้ ทำให้เด็กนักเรียนสนใจที่จะทำอย่างอื่นมากกว่า วันหยุดเสาร์-อาทิตย์เด็กจะกลับบ้าน ดังนั้น จึงเลือกการประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวเฉพาะกลุ่มจะเกิดการรวมตัว สามารถกำหนดขั้นตอนการบริหารจัดการโครงการในกลุ่มนักเรียนแกนนำได้ดีกว่า

ข้อค้นพบ

นักเรียนขยายผลสู่แนวทางพัฒนาภายในโรงเรียนและเกิดการมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยนักเรียนวิชาสิ่งแวดล้อมรุ่นต่อไปได้วางแผนงานดูแลคูคลองน้ำเสียในคลองวัฒนาในภาคเรียนปัจจุบันมีการรณรงค์การจัดการน้ำเสียแก่แม่ค้าร้านสหกรณ์โรงเรียน ด้านครูที่ปรึกษาได้รับความร่วมมือจากฝ่ายรักษาสิ่งแวดล้อม เขตวัฒนา ประสานงานเรื่องการทำให้ลำคลองในเขตวัฒนา และพานักเรียนศึกษาดูงานลดน้ำเสียในคลองจากโรงเรียนเทพลีลา และนักเรียนแกนนำรุ่นแรกเป็นผู้จัดทำชมรมรู้เท่าทันสื่อโดยนำข้อมูลพื้นที่ดี พื้นที่เสี่ยง มาจัดทำโครงการมัลติมีเดีย พัฒนาความรู้ในโรงเรียนต่อไป

รายชื่อผู้ให้ข้อมูล

1. กาญจนา แสงปลั่ง ครูที่ปรึกษาโครงการและครูวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา

2. กมลวรรณ คุรานุสนธิ์ นักเรียนแกนนำระยะที่ 1 ชั้น ม.4

3. ญาณิน สุทธิเดชานัย นักเรียนแกนนำระยะที่ 1 ชั้น ม.4

4. ฐิติวรดา ศิริทองถาวร นักเรียนแกนนำระยะที่ 1 ชั้น ม.4

5. ศุภณัฐ ล้วนรุ่งเรือง นักเรียนวิชาสิ่งแวดล้อม ชั้น ม.3

6. ปภัสสร พิทักษ์วงษ ม.3

ประเด็นที่เป็นเป้าหมายการสังเคราะห์ความรู้

  1. ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิหลังและศักยภาพของผู้ดำเนินโครงการหรือคณะ
  • ภูมิลำเนา / สถานภาพ / อาชีพ / ระดับการศึกษา
  • ฐานประสบการณ์เดิมด้านการทำงานสร้างเสริมสุขภาพ
  • ฐานประสบการณ์การรับทุนจาก สสส.
  • จุดเชื่อมโยงให้มาเป็นภาคีผู้รับทุนจาก สสส.
  1. ภูมิหลังของโครงการ

เป็นโครงการริเริ่มใหม่ หรือระยะต่อเนื่อง

3. การถอดบทเรียนที่ทำให้เห็นกระบวนการดำเนินโครงการที่เป็นต้นแบบในเชิงนวัตกรรม หรือมีประสิทธิภาพ

  • ปัจจัยเกี่ยวกับวิธีคิด / ระบบความคิดของแกนนำหรือคณะผู้ดำเนินโครงการ
  • ปัจจัยด้านความรู้
  • ปัจจัยด้านประสบการณ์ หรือกระบวนการเรียนรู้
  • ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ
  • ปัจจัยสนับสนุน/แทรกแซงจากภายนอก
  • การสร้างเงื่อนไขให้เกิดความต่อเนื่องยั่งยืน
  • การทำงานแบบมีส่วนร่วม เป็นเครือข่าย
  • ทุนทางสังคม
  • ค้นหาผู้ดำเนินโครงการ หรือกลุ่มแกนหลักมิติของนักสร้างเสริมสุขภาพระดับพื้นที่ ที่มีศักยภาพในการแลกเปลี่ยนหรือหนุนเสริมภาคีอื่น ๆ โดยระบุจุดเด่น เพื่อจัดทำ human mapping
  • เงื่อนไขความสำเร็จของผู้นำ องค์กร หรือชุมชน ที่มีศักยภาพ
4. เงื่อนไขที่สร้างความแปรปรวนต่อการควบคุมให้เกิดผลตามแผนงาน

  • ประมวลเงื่อนไขที่ทำให้โครงการไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย
  • ขอบเขตความสามารถของภาคีผู้รับทุนในการจัดการเงื่อนไขดังกล่าว
5. สัญญาณว่าน่าจะเกิดความต่อเนื่องยั่งยืน

  • จำนวนโครงการที่ผู้รับผิดชอบโครงการต้องการพัฒนาองค์ความรู้ต่อเนื่อง
  • มีการดำเนินโครงการ / กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพต่อเนื่องในลักษณะต่าง ๆ

เกณฑ์การคัดเลือกโครงการตัวอย่าง 20 โครงการ

  1. ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ ทำได้ตามแผนงานไม่ต่ำกว่า 80% ตามข้อเสนอโครงการ (ดูจากกิจกรรม การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และระยะเวลาดำเนินการ)
  2. การออกแบบและดำเนินโครงการแสดงวิธีคิดที่เป็นระบบเชื่อมโยงเป็นกระบวนการ
  3. เกิดผลกระทบต่อกลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์โครงการ และมีโอกาสที่จะขยายผลต่อเนื่อง
  4. มีการริเริ่มสร้างสรรค์แนวทางดำเนินการใหม่ โดยเชื่อมโยงกับฐานความรู้ ภูมิปัญญาในท้องถิ่น และการพึ่งตนเอง
  5. คิดค้นวิธีแก้ปัญหาการดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพด้วยวิธีการใหม่ ๆ แม้ไม่สำเร็จสมบูรณ์ แต่สะท้อนถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ บนพื้นฐานความรู้ และมีการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อนำมาแก้ไข ปรับปรุง ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

December 3, 2008 at 3:22 am 1 comment


Categories

  • Blogroll

  • Feeds